วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปวิจัย

ในการวิจัยเป็นการทำการหมักน้ำสมุนไรเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

โดยในการหมักน้ำสมุนไพรจะได้เรียนรู้และเพิ่มทักษะต่างๆดังนี้คือ
-การตั้งสมมติฐาน
-การสังเกตการเปลี่ยนแปลง
-การกะปริมาณ
-การทดลอง
-การสืบค้น
-การรู้จักชื่อสมุนไพรเป็นวิทยาศาสตร์
-การสื่อความหมายข้อมูล
-การจำแนก
-การวัด

ขอบเขตการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดชำป่างาม อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต2 จำนวน 50 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
1.เลือกนักเรียน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน เนื่องจากเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการใกล้เคียงกัน
2.สุ่มนักเรียนจำนวน 15 คน จากห้องเรียนในข้อ 1 โดยการจับฉลากเพื่อนเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กปฐมวัย โดยผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่าง 1 สัปดาห์ ก่อนการทดลอง จากนั้นก็ทำการทดลองเพื่อวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก่อนการจัดกิจกรรม โดยใช้แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างและดำเนินการทดลองด้วยตนเอง จำนวน 8 สัปดาห์ เมื่อกำเนินการจัดกิจกรรมครบ 8 สัปดาห์ นำแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้งและนำข้อมูลที่ได้จากกาทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ
สรุปผลการวิจัย
1. ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.33 คะแนน
2.ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจักกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรพบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.93 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า หลังจากการวัดและด้านหารสื่อความหมายสูงขึ้น โดยมีค่าผลต้างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.13 , 1.67 , 1.73 และ 1.40 ตามลำดับ

สรุปบทความ

เรื่อง เด็กๆ อนุบาลสนุกกับ “สะเต็มศึกษา” ผ่านโครงงานปฐมวัย

     สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในฐานะองค์กรหลักของชาติ ที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำและพัฒนาหลักสูตร สื่อ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ในทุกระดับการศึกษาให้เหมาะสมเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หนึ่งในแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับโลกในศตวรรษนี้ ที่สสวท. กำลังผลักดันก็คือ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยเน้นการนำความรู้และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศกรรมศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต 


     ล่าสุด สสวท. ได้จัดงานประชุมวิชาการ “สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทย” และการนำเสนอผลงานวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ปฐมวัย ครั้งที่ 2 ที่เน้นการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ซึ่งส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยรู้จักการแก้ปัญหาและการสืบเสาะหาความรู้ด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย ทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อมที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศในอนาคต  


     ในงานประชุมวิชาการนี้ มีครูปฐมวัย มานำเสนอผลงานวิชาการและสาธิตการจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีระดับปฐมวัยตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยใช้กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกิจกรรมบูรณาการและแบบโครงงาน (Project based learning) ผลงานวิชาการที่น่าสนใจภายในงาน เช่น กิจกรรมเส้นสายสัมพันธ์  โครงงานกล้วยผง  โครงงานเรื่องขวดเก่า มาเล่าใหม่ และโครงงานปั้นข้าวจี่ ฝีมือหนู เป็นต้น

      ทั้งนี้ งานประชุมวิชาการ “สะเต็มศึกษา พัฒนาเด็กไทย” และการนำเสนอผลงานวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ปฐมวัย ครั้งที่ 2 เป็นการเปิดโอกาสให้ครู นักวิชาการ และบุคลากรทางการศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกระบวนการการเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษาอีกด้วย




วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16 วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
ในสัปดาห์นี้แต่ละกลุ่มต้องออกมาสอนในวันที่ตนเองรับผิดชอบ
โดยเป็นกิจกรรมที่ได้บูรณาการวิทยาศาสตร์

วันจันทร์หน่วยไก่





วันอังคารหน่วยนม




วันพุธหน่วยข้าว


    กลุ่มของดิฉัน ทำการสอนเรื่องข้าว
ทำน้ำหมัก(ไล่แมลง วัชพืช)
เริ่มแรกจะให้เด็กๆท่องคำคล้องจองเรื่องข้าว


คำคล้องจอง เรื่องข้าว
     การทำนาข้าว ชาวนาต้องไถ
หว่านเมล็ดลงไป ไขน้ำเข้านา
     หรือโดยปักตำ เพาะชำต้นกล้า
ใส่ปุ๋ยใส่ยา ถอนหญ้าออกเลย

ต่อด้วยการใช้คำถามถามเด็กๆว่าในคำคล้องจองมีวิธีปลูกข้าวและดูแลรักษาต้นข้าวอย่างไรบ้าง

และถามว่านอกเหนือจากคำคล้องจองเด็กๆว่ามีวิธีใดในการดูแลรักษาต้นข้าวบ้าง

จากนั้นก็พาทำน้ำหมักสมุนไพร
โดยจะใช้แผ่นชาร์ตให้ดูอุปกรณ์และส่วนผสม
มาแนะนำอุปกรณ์และส่วนผสม

ส่วนผสม
สะเดา 2 กิโลกรัม
หัวข่า 1 กิโลกรัม
ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
น้ำ 1.5 ลิตร

อุปกรณ์
มีด
เขียง
กะละมัง

วิธีทำ
หั่นส่วนผสมทั้งหมด
เทลงในกะละมัง
ใส่น้ำและคนให้เข้ากัน
หมักทิ้งไว้ 3 คืน

ประโยชน์
ช่วยไล่แมลง ศัตรูพืชต่างๆ
พออธิบายและสาธิตการทำห็ให้ลงมือทำโดยทุกคนมีส่วนร่วมในการทำ

หลังจากนั้นก็มาสรุปว่ากิจกรรมนี้ได้อะไรบ้างให้ช่วยกันตอบ ไดเทำอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไรบ้าง





วันพฤหัสบดีหน่วยกล้วย






วันศุกร์หน่วยน้ำ




และหน่วยส้ม





การนำมาประยุกต์ใช้
-สามารถนำกิจกรรมในวันต่างๆมาใช้ในการสอนในอนาคตได้จริง
-นำไปต่อยอดทางการศึกษา
-ฝึกการกล้าแสดงออก

การประเมิน
ตนเอง-ตั้งใจเรียนดี เนื่องด้วยในวันนี้ดิฉันเป็นคนสอนจึงมีการเตรีมตัวมาอย่างดี
เพื่อน-ช่วยเตรียมอุปกรณ์กันอย่างดี รับผิดชอบในหน้าที่ได้ดี
อาจารย์-ตั้งใจสอนนักศึกษา และมีการให้คำแนะนำอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ใช้วาจาที่รุนแรง แต่ให้นักศึกษาเห็นข้อดีและจุดบกพร่องที่สามารถนำไปแก้ไขได้

คำศัพท์
farmer ชาวนา, ชาวไร่
first  ที่หนึ่ง, แรก
fruit  ผลไม้
get  ได้รับ, เข้าใจ
herb  สมุนไพร



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2559

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มหน่วยของตนเอง
ให้แต่ละกลุ่มคิดแผนการสอนในแต่ละวัน
โดยให้มีองค์ประกอบดังนี้
-วัตถุประสงค์
-สาระการเรียนรู้/ประสบการณ์สำคัญ
-กิจกรรมการเรียนรุ้
-สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
-การวัดและประเมินผล
-การบูรณาการ

**โดยอาจารย์คอยให้คำแนะนำตลอด

เมื่อเขียนของตนเองเสร็จก็ให้แต่ละกลุ่มออกมาจับฉลากว่าจะได้สอนวันไหน
กลุ่มดิฉันได้วันพุธ


การนำมาประยุกต์ใช้
-ในการเป็นครูจำเป็นต้องเขียนแผนการสอนอยู่แล้วและนี่ก็เป็นเหมือนการฝึกให้เราเขัยนแผนการสอนเพื่อนำไปใช้ในอนาคต

การประเมิน
ตนเอง-ตั้งใจเรียนดี ตั้งใจฟังจ้อเสนอแนะของอาจารย์
เพื่อน-ให้ความร่วมมือในการเรียนดีมาก ช่วยคิด ช่วยแก้ปัญหา
อาจารย์-ตั้งใจสอน ตรงต่อเวลา มีเวลาให้ลูกศิษย์

คำศัพท์
diligent  ขยัน
draw จับฉลาก
each  แต่ละ
exact  แน่นอน, ถูกต้อง
fit  พอดี, เหมาะ

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14 วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

คณะศึกษาดูงานจากประเทศออสเตรียมาเยี่ยมชมการสอนของคณะศึกษาศาสตร์
พวกเราจึงต้องเข้าร่วมการสาธิตการสอน






บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13 วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
ในสัปดาห์นี้เริ่มด้วยอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอVDO ที่ได้ทำกัน ซึ่งเป็นVDO ที่สอนการทำของเล่น

กลุ่มที่1 พลังปริศนา



กลุ่มที่2 ขวดบ้าพลัง


กลุ่มที่3 รถแกนหลอดด้าย


กลุ่มที่4 ลูกข่างนักสืบ


จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มเดิมที่ได้นำเสนอหน่วยต่างๆ
และให้เขียนการสอนกิจกรรมในแต่ละวันตามหน่วยที่ตรเลือกไว้








การนำไปประยุกต์ใช้
-ปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับเรามากขึ้นการทำVDOถือเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้ฝึกฝนพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ได้ในการสอนเด็กๆ

การประเมิน
ตนเอง-ตั้งใจเรียน เข้าใจสิ่งที่อาจารย์สอน
เพื่อน-ตั้งใจเรียนดี
อาจารย์-ตั้งใจสอน มีเทคนิกการสอนที่ดี ตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ ให้นักศึกษาทำด้วยตนเอง

คำศัพท์
chart  ผัง, ตาราง
cheap  ราคาถูก
check   ตรวจสอบ
chick  ลูกไก่
chief  หัวหน้า, สำคัญ



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12 วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 25ตุลาคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาการเรียนการสอน
สัปดาห์นี้เริ่มจากที่อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกไผนำเสนอแผ่นชาร์ตที่ได้แก้ไขมาแล้ว
จากนั้นอาจารย์ก็จะให้คำแนะนำเพิ่มเติม
โดยแต่ละกลุ่มทำเรื่องต่างๆดังนี้
1.นม
2.น้ำ
3.ข้าว
4.กล้วย
5.ส้ม
6.ไก่



โดยแต่ละกลุ่มอาจารย์จะมีข้อเสนอแนะที่นักศึกษาสามารถนำเอาไปปรับปรุงแก้ไขได้ โดยเน้นหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อยให้สามารถแนกได้อย่างชัดเจน

การนำไปประยุกต์ใช้
-ในการทำmind mapping เราจำเป็นต้องมช้ในการทำงานในอนาคต ซึ่งอาจารย์ก็ได้แนะนำเทคนิกการทำที่ถูกต้องให้เราได้รู้และน้ฝำไปใช้ได้ในอนาคต
-สามารถนำเทคนิกการสอนของอาจารย์ที่เน้นให้เด็กได้คิด ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองไปใช้ในอนาคตได้


การประเมิน
ตนเอง-สนใจในเนื้อหาการเรียน
เพื่อน-ตั้งใจเรียนดี
อาจารย์-ตั้งใจสอน แต่งกายสุภาพ